
ราหู (North Node) ที่นิยมใช้แสดงในวงจักราศี เป็นปรากฏการณ์เฉพาะเมื่อเส้นวิถีโคจรดวงจันทร์เคลื่อนที่ตัดเส้นวิถีโคจรดวงอาทิตย์ไปฝั่งด้านเหนือ (ส่วน South Node เป็นจุดตัดกลับไปอีกด้านหนึ่ง, ทางฮินดู เรียก เกตุ ในนิทานเทวดาฮินดู คือ ส่วนร่างกายท่อนล่างของราหู) ทำให้เกิดเงาทอดตัวยาวลงในฉากหลัง หากฉากหลังเป็นพื้นที่จุดใดจุดหนึ่งในโลกก็มักพยากรณ์ว่ามีอิทธิพลในพื้นที่แห่งนั้น โดยปัจจุบัน ราหู North Node เคลื่อนที่อยู่ราว 13°41’R ราศีพฤษภ (ระบบ Tropical Zodiac) ในขณะที่ราหู South Node เคลื่อนที่ด้วยความเร็วพอๆกัน อยู่ที่ 13°41’R ราศีพิจิก

เรื่องของเงา (คำว่า เงา ใช้อ้างถึงความหมายหนึ่งของ ราหู ก็ได้) เป็นที่ทราบกันดีว่า เกิดขึ้นเสมอ เมื่อวัตถุเปล่งแสง A กระจายแสงไปยังวัตถุ B เงาก็ทอดยาวออกไปด้านหลังวัตถุ B
ส่วนตัวจึงพูดแบบรวมว่า เมื่อสังเกตการณ์จากโลกนั้น หากมีสภาพที่ดวงจันทร์อยู่หน้าดวงอาทิตย์ก็ยอมเกิดเงาทอดลงที่ไหนสักแห่งในโลก ซึ่งในธรรมชาติจริง ผู้เขียนพบว่าบ่อยครั้งเงาของดวงจันทร์ทอดตัวลงในพื้นที่ว่างอวกาศ

ฉะนั้นเมื่อสังเกตจากโลก ในเวลากลางวันของแรม 15 ค่ำ ดวงอาทิตย์ไม่ถูกบดบัง เนื่องดวงจันทร์ลอยอยู่ข้างๆ ดวงอาทิตย์ และเงาทอดลงในพื้นที่ว่างอวกาศ (ในการตั้งเรื่องบทความนี้ครั้งแรก ผู้เขียนจึงอธิบายให้ง่ายความว่า ราหู มีเกิดทุกเดือน ไม่ใช่ของแปลก)
แต่หากมีผู้วิเศษเหาะในไปพื้นที่ว่างที่มีเงาทอดนั้น ปรากฏการณ์สุริยคราส หรืออาการแสดงออกของราหูอมอาทิตย์ ก็ย่อมแสดงปรากฏการณ์นั้นแก่ผู้วิเศษ โปรดดูภาพประกอบด้านล่าง

ภาพ วันแรม 15 ค่ำ จันทร์ดับ ช่วง 23 พฤศจิกายน 2565
จากภาพแทนการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์ด้วยเส้นสีเหลืองและมีจุดสีเหลืองแทนการเคลื่อนที่ทุก 30 นาที
ส่วนเส้นสีเทาๆที่มีเส้นแสดงองศา แทนเส้นสุริยะวิถี ที่ดวงอาทิตย์โคจรในวันดังกล่าว
สำหรับกรณี ในวันที่ 25 ตุลาคม 2565 ช่วงหัวค่ำที่ผ่านมา ตำแหน่งและเวลาเมืองหลวง สยามประเทศ
ดวงจันทร์เคลื่อนที่ตัดเส้นสุริยวิถีไปทางฝั่งใต้ แสดงตัวตนของ South Node
ทั้งสองเส้นตัดและทับกัน จุดนั้นแทน ราหูใต้ (south node)

วงจักราศีปัจจุบันไม่ค่อยนิยมแสดง South Node อาจเป็นเพราะนักโหราศาสตร์ที่เข้าใจ ท่านทราบแน่ชัดอยู่แล้วว่า ราหู (Noth Node) มักเล็ง 180° กับ South Node เสมอ
สำหรับสุริยคราสเต็มดวงครั้งถัดไป (Total Eclipse) เกิดขึ้นในราศีเมษ (ระบบ Tropical Zodiac) วันที่ 8 เมษายน 2567 มีรัศมีวงรอบ 197 km ระยะเวลากุมสนิทประมาณ 4 นาที 28 วินาที ณ เมืองฉีหลิน (กิเลน) ฉู่จิ้ง มณฑลยูนนาน สาธารณะรัฐประชาชนจีน (25°17’09″N 104°08’17″E)
สำหรับผู้มีจุดเจ้าชะตาสำคัญช่วงปลายตรียางค์ที่ 2 ราศีเมษ จะพบปรากฏการณ์พิเศษ

You must be logged in to post a comment.